อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐพุ่ง หนุนดอลลาร์แข็งค่า

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐพุ่ง หนุนดอลลาร์แข็งค่า

 

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า สภาวการณ์เคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันอังคารที่ 4 มกราคม 2565

ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (4/1) ที่ระดับ 33.28/30 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพฤหัสบดี (30/12) ที่ระดับ 33.34/36 บาท/ดอลลาร์ ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ รวมทั้งการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในเดือน มี.ค. โดยอัตราผลตอบแทนซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นเหนือระดับ 1.6% เมื่อคืนนี้

ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 30 ปีทะลุระดับ 2% โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรได้รับปัจจัยบวกจากการที่นักลงทุนคลายวิตกเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน รวมทั้งการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในเดือน มี.ค. ซึ่งเป็นเดือนที่เฟดยุติโครงการซื้อพันธบัตรมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) และจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้

สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้นเพียง 0.4% ในเดือน พ.ย. เมื่อเทียบรายเดือนต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.6% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือน ต.ค. ทางด้านไอเอชเอส มาร์กิตเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 57.7 ในเดือน ธ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในปี 2564 จากระดับ 58.3 ในเดือน พ.ย. โดยการร่วงลงของดัชนี PMI มีสาเหตุจากการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต รวมทั้งการชะลอตัวของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน ทั้งนี้นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของในวันศุกร์นี้ ซึ่งหากตัวเลขดังกล่าวออกมาแข็งแกร่งกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ก็อาจจะส่งผลให้แนวโน้มที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้เพิ่มสูงขึ้น

สำหรับค่าเงินบาทเช้าวันนี้แข็งค่าจากปิดตลาดของวันทำการสุดท้ายในปี 2564 โดยระหว่างช่วงวันหยุดยาว ตลาดยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา ทั้งนี้เห็นว่าแม้ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ตลาดโลกเริ่มมองข้ามปัจจัยเรื่องไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนไปแล้ว เนื่องจากอัตราการป่วยหนัก หรือเข้า ร.พ. มีไม่มาก อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงติดตามยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนในไทยที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 33.26-33.35 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 33.29/31 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร เปิดตลาดเช้าวันนี้ (4/1) ที่ระดับ 1.1296/97 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพฤหัสบดี (30/12) ที่ระดับ 1.1308/09 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร โดยค่าเงินยูโรอ่อนค่าตามการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ โดยนางสเตลลา คีเรียคิเดส กรรมาธิการด้านสาธารณสุขของสหภาพยุโรป (EU) เปิดเผยว่า พลเมืองของ EU ราว 1 ใน 5 ได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็มบูสเตอร์แล้ว และอัตราการเข้ารับวัคซีนขณะนี้อยู่ที่เกือบ 20% พร้อมระบุว่า วัคซีนเข็มกระตุ้นมีความจำเป็นต่อการปกป้องผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น เบาหวาน

นอกจากนี้ นางคีเรียคิเดสกล่าวว่า จำเป็นต้องมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศสมาชิก EU เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ และเตือนว่า สถานการณ์ในวันข้างหน้ายังคงไม่แน่นอน ทั้งนี้ ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.1283-1.1310 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.1296/97 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยน เปิดตลาดเช้าวันนี้ (4/1) ที่ระดับ 115.32/34 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพฤหัสบดี (30/12) ที่ระดับ 115.17/19 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ โดยเงินเยนอ่อนค่าตามการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ ที่แข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 ปีเมื่อเทียบกับเงินเยน รวมไปถึงนักลงทุนเทขายเงินเยนซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย หลังตลาดเริ่มเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 115.29-115.86 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 115.82/83 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่สำคัญสัปดาห์นี้ ดัชนี PMI ภาคการผลิตจาก ISM (4/1), ตำแหน่งงานว่างเปิดใหม่ JOLT (4/1), ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนจาก ADP (5/1), รายงานการประชุมเฟด, ดัชนี PMI ภาคการบริการจาก ISM (6/1), ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ธ.ค. (7/1), อัตราการว่างงานเดือน ธ.ค. (7/1)

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -0.5/0 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยง ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -2.0/+1.0 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ